ในที่สุดโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำการเก็บค่าข้อมูลความเร่งจากเซนเซอร์วัดความเร่งในแบบ 3 มิติ ก็เสร็จสิ้น อาจจะใช้เวลานานเกินกำหนดไปเล็กน้อย เนื่องจาก เราต้องศึกษาการทำงานของ Dataflash และ Microcontroller อย่างละเอียดถึงระดับ Register แต่เราก็สามารถเขียนโปรแกรมออกมาได้อย่างสมบูรณ์ พร้อมใช้งาน แล้วยังสามารถ Import Data เข้าไปยัง Microsoft Excel เพื่อทำการ Plot กราฟวิเคราะห์ข้อมูลได้อีกด้วย
ดังนั้นเราจึงมาถึงส่วนสุดท้ายของโปรเจคนี้แล้ว คือการตั้งจุดประสงค์และวิธีทำการทดลอง หลังจากได้ปรึกษากับอาจารย์แล้ว เราจึงตั้งจุดประสงค์และวิธีทำการทดลองได้ดังนี้
จุดประสงค์การทดลอง
การทดลองเกี่ยวกับการล้มนี้ ทำขึ้นเพราะมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญคือ ผู้สูงอายุ เนื่องจากในชีวิตประจำวันเราอาจไม่ได้อยู่ดูแลท่านตลอดเวลา ดังนั้น เราจึงคิดโปรเจคนี้ขึ้นเพื่อนำไปใช้ได้จริง เพื่อทำการตรวจจำว่า วันนี้ท่านได้เกิดอุบัติเหตุหกล้มหรือไม่ ซึ่งสามารถดูได้จากกราฟของ output voltage จากเซนเซอร์ทั้ง 3 แกน แต่การจะแยกแยะว่ากราฟแบบนี้คือการหกล้ม หรือเป็นเพียงการนั่ง เดิน นอน นั้นต้องอาศัยการวิเคราะห์และทดลอง
วิธีการทดลอง
เราจะแบ่ง case ที่ใช้พิจารณาออกเป็น 6 case คือ
1.การเดินแบบปรกติ
2.การเดินขึ้นบันได
3.การนั่ง
4.การนอน
5.การหกล้มแบบหงายหน้า
6.การหกล้มแบบหงายหลัง
โดย case แต่ละแบบจะถูกนำเอา output voltage จากเซนเซอร์มา plot กราฟใน Excel เพื่อทำการวิเคราะห์ผลและดูความแตกต่างเพื่อที่จะแยกแยะได้ว่าเมื่อกราฟเป็นเช่นนี้จะอยู่ใน case ไหน
Our Team
- iamDante
- My name is Thaniya Wongsuanoom. I'm study at Thammasat University,Faculty of Engineering,Computer Engineering. I'm the part of team Prject LE340 Measurement.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น