Our Team

My name is Thaniya Wongsuanoom. I'm study at Thammasat University,Faculty of Engineering,Computer Engineering. I'm the part of team Prject LE340 Measurement.

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สรุปงานใน Week ที่ 1

ภาพที่ 1.1 บอร์ด AVR Butterfly
ภาพที่ 1.2 เซนเซอร์วัดความเร่งในแบบ 3 มิติ
ภาพที่ 1.3 โครงร่างบอร์ดที่มีส่วนประกอบเป็นอุปกรณ์ดังนี้

1. บอร์ด AVR Butterfly
2. รางถ่าน
3. เซนเซอร์วัดความเร่งในแบบ 3 มิติ

โดยโครงร่างบอร์ดนี้ยังไม่สมบูรณ์แบบ เนื่องจากต้องทำการต่อสาย output จากเซนเซอร์วัดความเร่ง ซึ่งสามารถวัดความเร่งได้ 3 แกน (X Y Z) ซึ่งมีทั้งหมด 3 output เข้าไปยังบอร์ด AVR รวมทั้งจ่ายไฟเลี้ยงให้แก่เซนเซอร์ด้วย โดยคาดว่าจะเสร็จเป็นบอร์ดสมบูรณ์ได้ภายใน week หน้า
เพื่อให้ได้ทราบว่า week นี้พวกเราศึกษาอะไรเกี่ยวกับส่วนประกอบในบอร์ดนี้ จึงขออธิบายส่วนประกอบต่างๆ ในบอร์ดนี้พอสังเขป

1.บอร์ด AVR Butterfly มีส่วนประกอบบนบอร์ดดังนี้
- Joy Stick ใช้ควบคุมและสั่งการโหมดต่างๆของบอร์ด AVR
- Light Sensor เซนเซอร์ที่มีมากับบอร์ด AVR ใช้สำหรับวัดความเข้มแสง (สำหรับการทดลองนี้ เราจะไม่ได้ใช้งาน Light Sensor)
- ADC ใช้อ่านค่า Voltage ได้ตั้งแต่ 0 ถึง 5 V (ขาบน + ขาล่าง -)
- USART ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อ Download โปรแกรมลงบอร์ดผ่านพอร์ต RS-232
- USI ใช้สำหรับการเชื่อมต่อแบบ USI Interface
- PORTB/PORTD ใช้สำหรับการโปรแกรมบอร์ดแบบ High Voltage Parallel Programming ซึ่ง ISP และ JTAG ไม่สามารถใช้งานได้
- ISP หรือ In-system programming ใช้สำหรับการโปรแกรมบอร์ดแบบ 6-wire cable
- JTAG นอกเหนือจากหน้าที่หลักในการเป็น JTAG Connector แล้ว JTAG ยังสามารถทำหน้าที่เป็น ACD input channel ได้ถึง 4 input (JTAG Connetor นี้จะเป็นส่วนที่จะนำเอา output จากเซนเซอร์วัดความเร่งเพื่อบรรทึกใส่ DataFlash ของบอร์ด AVR)
- +3V/GND ใช้จ่ายไฟเลี้ยงให้แก่บอร์ด AVR ซึ่งตัวบอร์ดต้องการไฟเลี้ยง 3 V (ใช้ขา +3V/GND ดังภาพที่1.3)
อ้างอิงจาก http://www.atmel.com/products/AVR/butterfly
.
2.เซนเซอร์วัดความเร่งในแบบ 3 มิติ มีส่วนประกอบดังนี้
- VCC/GND ใช้จ่ายไฟเลี้ยงให้แก่ตัวเซนเซอร์ ซึ่งตัวเซนเซอร์ต้องการไฟเลี้ยงในช่วง 2.2 - 3.6 V
- X/Y/Z output Voltage ตามแนวแกน X Y และ Z ซึ่งจะนำค่า Voltage นี้มาวิเคราะห์ค่าความเร่งที่เกิดขึ้น
- GS1/GS2 Logic input สำหรับเลือก g - Range ดังนี้
GS1=0 / GS2=0 : g-Range=1.5g และ sensitivity=800mV/g
GS1=0 / GS2=1 : g-Range=2g และ sensitivity=600mV/g
GS1=1 / GS2=0 : g-Range=4g และ sensitivity=300mV/g
GS1=1 / GS2=1 : g-Range=6g และ sensitivity=200mV/g
- SLP หรือ Sleep Mode ใช้สำหรับ set ให้บอร์ดอยู่ใน mode ที่ GS1 และ GS2=0 ซึ่งเป็น mode ที่ใช้พลังงานน้อยที่สุด
.
ค่า Maximum Rating สำหรับเซนเซอร์วัดความเร่งตัวนี้ มีดังนี้
1. Maximun Acceleration ในทุกแกน (gmax) เท่ากับ +/- 2000 g
2. Supply Voltage (VDD) เท่ากับ -0.3 ถึง +3.6 V
3. Drop Test (Ddrop) เท่ากับ 1.8 m
4. Storage Temperature Range (Tstg) เท่ากับ -40 ถึง +125 องศาเซลเซียส
อ้างอิงจาก http://www.sparkfun.com/

ไม่มีความคิดเห็น: